วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เด็กไทยของเราคิดไม่เป็นนี่เอง ที่ทำให้รัฐบาลต้องปฏิรูปการศึกษากันยกใหญ่ กระบวนการคิดคือนักเรียนต้องรู้จักแยกแยะ สังเคราะห์ คือสร้างสรรค์ และนำสิ่งที่เรียนไปใช้ และหลังการปฏิรูปการศึกษาเป็นเวลา 7-8 ปี เด็กไทยคิดอย่างมีเหตุผลขึ้นไหม เด็กไทยรู้อะไรควรไม่ควรขึ้นไหม รวมทั้งผู้ใหญ่เป็นตัวอย่างของความมีเหตุผล พอเหมาะพอดี และประเทศไทยเรากลายเป็นสังคมอุดมปัญญาขึ้นไหม หรือมัวแต่ทะเลาะกันโดยใช้อารมณ์ หรือยึดตนเองเป็นที่ตั้งอยู่เช่นนี้ แล้วเราจะปฏิรูปการศึกษากันไปทำไม เพื่อที่จะให้เด็กคิดเป็น คิดเก่ง และมีปัญญาในการแก้ปัญหาในชีวิต การสอนทุกวิชา ทุกบริบทต้องบูรณาการเข้าด้วยกัน โดยครูประจำสาขาต่าง ๆ ต้องทำงานเป็นทีม วางแผนร่วมกันว่า วิชาอะไรบ้างที่มีเนื้อหาตรงกัน และสามารถสอนร่วมกันในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษ แทนที่โรงเรียนแต่ละแห่งจะมุ่งเน้นสอนภาษาอังกฤษ โดยใช้เนื้อหาที่ไกลตัวเด็กไทย ซึ่งอยู่ในหนังสือซึ่งนำมาจากต่างประเทศ ทำให้ใช้เวลานานในการสอน เด็กเข้าใจยาก และเสียงบประมาณในการสอน ควรบูรณาการการสอนวิชาภาษาอังกฤษเข้ากับวิชาอื่นที่เรียนไปแล้ว
คำว่าบูรณาการ ภาษาอังกฤษใช้ว่า Integration หมายถึง การนำหลายวิชาที่เป็นเรื่องเดียวกันมาสอนพร้อมกัน เช่น การสอนวิทยาศาสตร์ เรื่อง อวัยวะภายในในการย่อยอาหาร ครูสอนวิชาภาษาอังกฤษ ก็ควรจะสอนศัพท์ และคำบรรยายเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารเป็นภาษาอังกฤษด้วย
การสอนแบบบูรณาการมีประโยชน์มากมาย คือ 1) ทำให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาวิชาลึกซึ้งขึ้น 2) ทำให้เนื้อหาที่จะสอนสั้นเข้า เพราะครูสอนเรื่องที่เหมือนกัน พร้อมกัน เวลาที่เหลือจะได้ทำกิจกรรมมากขึ้น
ฉะนั้น การสอนแบบบูรณาการจึงใช้ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เพราะเป็นการฝึกเยาวชนให้เป็นคนมีความรู้รอบด้าน และใช้ความรู้แก้ปัญหาอย่างผุ้มีไหวพริบ สติ ปัญญา จะเห็นว่านักเรียนได้รับการฝึกฝนในโรงเรียนเป็นเชิงบูรณาการ เมื่อเขาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนไปแล้ว เขาก็จะสามารถผสมผสานวิชาที่เรียน ผนึกสิ่งที่เหมือนกันไปแก้ปัญหาในชีวิต เช่น การเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องการทำงานของเครื่องจักรกลภายในรถยนต์ รู้ชื่อ รู้หน้าที่ของส่วนต่าง ๆ ของรถยนต์แล้ว เขาก็จะถูกฝึกให้ขับรถยนต์ในวิชาการงานอาชีพ และในวิชาสังคม เรื่อง กฎจราจร เขาก็จะต้องเรียนพร้อม ๆ กันไปกับวิชาวิทยาศาสตร์และการงานอาชีพ ทำให้เขามีความรู้เรื่องการขับรถยนต์ และกฎจราจร พร้อมที่จะออกไปเป็นพลเมืองดีของสังคม คือเป็นผลผลิตที่สมบูรณ์แบบของประเทศ

ตัวอย่าง การวางแผนการสอนแบบบูรณาการ (Teaching Plan)
วิชา (Content) วิชาหลักวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบย่อยอาหาร / วิชารองภาษาอังกฤษ
เรื่อง Digestive System
ชั้น (Grade) มัธยมศึกษาปีที่ 1


--------------------------------------------------------------------------------

1. สาระการเรียนรู้ที่ (Theme) ศึกษาการขับถ่าย การย่อยอาหาร การรักษาสุขภาพ เรื่อง (Title) ระบบย่อยอาหาร (Digestive System)
(รายละเอียดในภาคผนวก หน้า ระบุหน้าในหนังสือแบบเรียนวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร (Standard Expectation) มาตรฐาน ว. ที่ ........+ มาตรฐาน ต. ที่.............)

2. จุดมุ่งหมาย (Purposes to meet expectations)
1. เพื่อให้นักเรียนเข้าใจระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายเป็นภาษาไทยตามหลักวิทยาศาสตร์ และ ภาษาอังกฤษ
2. เพื่อให้นักเรียนสามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเข้าใจ
3. เพื่อให้นักเรียนได้ประโยชน์จากการเรียนรู้ร่วมวิชาและนำวิชาไปใช้

3. การประเมินเบื้องต้นก่อนสอน (Pre – Test) การทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับอวัยวะภายในว่านักเรียนรู้ศัพท์ และเข้าใจหน้าที่หรือไม่ เช่น Stomach / Small intestine / Large intestine / etc.

4. วางแผนการสอน – กิจกรรม นวัตกรรม (Innovation) กิจกรรมที่สร้างสรรค์ สื่อ อุปกรณ์ หนังสืออื่น ๆ
- อุปกรณ์การสอน – แผ่นภาพขนาดใหญ่เกี่ยวกับร่างกายภายใน (Internal Organism) ของมนุษย์ เน้นระบบย่อยอาหาร
4.1 (Warm – Up) ออกกำลังกาย และบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ เช่น move your stomach (3 นาที)
4.2 (Activities) นักเรียนบรรยายระบบย่อยอาหารเป็นภาษาไทยตามหลักวิทยาศาสตร์
4.3 (Activities) นักเรียนบรรยายเป็นภาษาอังกฤษตามแผ่นภาพเกี่ยวกับ Digestive System
4.4 (Activities) ครูตั้งคำถามให้นักเรียนตอบเป็นภาษาอังกฤษ
4.5 (Applications) ให้โครงงานหรือจัดนิทรรศการเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารและวิธีออกกำลังกาย

5. การประเมินหลังการสอน (Post – Test) ทดสอบหลังเสร็จสิ้นการสอน เปรียบเทียบกับคะแนน Pre – Test
1. Measurement (ประเมินผล = คะแนน) หมายถึงการวัดคะแนนดิบ
2. Evaluation (วัดผล = คุณภาพ) หมายถึง การเอาคะแนนดิบมาแบ่งกลุ่มเป็นคุณภาพของนักเรียน เช่น เกรด A / B / C / D

6. สรุป วิเคราะห์ สะท้อนผล (Analyzing Outcome) .....
1. Discipline (วินัย = ดี) นักเรียน กระตือรือร้น มีวินัย ร่วมมือหรือตั้งใจเรียน (15 % )
2. Perception (เรียนรู้ลึกซึ้ง = เก่ง) นักเรียนคิดวิเคราะห์ - แยกแยะ / สร้างสรรค์ / นำสิ่งที่เรียนไปใช้ 75 %
3. Attitude (ความลึกซึ้งชอบ เจตคตินำไปใช้ = มีความสุข) – นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาที่เรียน
- รักวิชา / รักครู / รักเพื่อน / รักโรงเรียน 10 %

* บูรณาการ (Integration) = การสอนหลายวิชาแต่เรื่องเดียวกัน